ReadyPlanet.com
เกรดของสายพานลำเลียงและตารางเปรียบเทียบ

เกรดของสายพานลำเลียง

1. สายพานลำเลียงเกรด M คือ สานพานที่ทนแรงดึงสูง มีความต้านทาน การสึกหรอและทนการตัดเจาะได้ดีมาก เหมาะสำหรับงานที่ต้องการรับแรงกระแทกสูง ใช้ลำเลียงวัตถุขนาดใหญ่ วัตถุแหลมคม และผิวขรุขระ เช่น ใช้ลำเลียงหิน ในโรงโม่หิน เหล็กแผ่น เป็นต้น

2. สายพานลำเลียงเกรด N คือ สานพานที่ทนแรงดึงสูง มีความต้านทาน การสึกหรอและทนการตัดเจาะได้ดี แต่น้อยกว่าเกรด M เหมาะสำหรับงานที่ต้องการรับแรงกระแทกไม่สูงมากนัก ส่วนมากจะใช้ลำเลียงวัตถุขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็ก ที่มีความแหลมคมไม่มากนัก เช่น หินบด ถ่านหินปูน ท่อนไม้ เศษแก้ว หรือแม้กระทั้งแร่ต่างๆ เป็นต้น

3. สายพานลำเลียงเกรด P คือ สายพานที่ใช้สำหรับงานทั่วไป เหมาะสำหรับลำเลียงวัตถุที่มีความสึกกร่อนน้อย และวัตถุที่มีขนาดเล็ก โดยส่วนมากจะใช้ลำเลียงใน อุตสาหกรรมการเกษตร เช่น การลำเลียงหัวมัน ข้าวโพด อ่อย ข้าว ในโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ลำเลียงจำพวก แป้ง น้ำตาล ปุ้ย กระดาษ เศษไม้ขนาดเล็ก เป็นต้น

4. สายพานลำเลียงเกรด OR โดยจะแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ เกรด OR1 และ เกรด OR2 โดย เกรด OR1 จะมีลักษณะ ทนทานต่อน้ำมัน เช่นน้ำมันพืช น้ำมันจากสัตว์หรือแม้กระทั้งน้ำมันปิโตรเลียม โดยส่วนมากจะใช้ลำเลียงวัตถุจำพวกเมล็ดพืชที่มีน้ำมัน เช่นถั่วเหลือง ส่วนเกรด OR2 คือสายพานที่ทนทานต่อน้ำมัน และทนทานต่อความร้อนควบคู่ไปด้วยกัน เช่น ปาล์มน้ำมัน

5. สายพานลำเลียงเกรด HR คือสายพานที่ทนอุณหภูมิ หรือทนความร้อน เหมาะกับงานที่ผิวสายพานมีอุณหภูมิไม่เกิน 150 °C องศาเซลเซียส หรือลำเลียงวัตถุที่อุณหภูมิไม่เกิน 300 °C ส่วนมากจะใช้ในอุตสาหกรรม โรงหล่อโลหะ  

6. สายพานลำเลียงเกรด FR คือ สายพานที่ทนไฟและทนทานการลุกลามของเปลวไฟ จุดติดไฟยาก

 

 

ตารางเปรียบเทียบมาตรฐานต่างๆ




ความรู้เรื่องสายพาน

ส่วนประกอบสายพาน
วิธีสั่งสายพาน/วิธีดูหมายเลขที่ประทับมากับสายพาน
Degree of abrasieness for some materials
การเลือกขนาดพูเลย์
ความแตกต่างระหว่างสายพานมีขอบ และไม่มีขอบ
ผ้า ep
ตารางแสดงค่าควางเร็วแล่นสายพานสูงสุด
หลักการในการตรวจเช็คสายพาน
การต่อหัวสายพานลำเลียง
ปัญหาและวิธีการแก้ใขสายพานลำเลียง