ReadyPlanet.com
ส่วนประกอบสายพาน

สายพานลำเลียง มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

          ยางผิวชั้นบน (top cover) เป็นส่วนที่ป้องกันไม่ให้ผ้าใบสัมผัสกับวัสดุที่ลำเลียง ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผ้าใบ ป้องกันความชื้นของชั้นผ้าใบในกรณีที่ผ้าใบเป็นชนิดที่ดูดความชื้นสูงสูตรยางผิวชั้นบนมักจะต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งานทั้งหมด เช่น ใช้งานในหรือนอกอาคาร สัมผัสกับสารเคมีชนิดใด เป็นต้น

          ยางกาว (skim) เป็นยางที่ทำให้เกิดการยึดติดระหว่างยางกับผ้าใบ และระหว่างผ้าใบแต่ละชั้น ยางกาวจะยึดติดกับ ผ้าใบได้ด้วย พันธะไฮโดรเจน, พันธะอิออน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดและจะยึดติดกับชั้นยางใน โดยการเกิด พันธะเชื่อมโยง

          ผ้าใบ (canvas) เป็นส่วนที่ให้ความแข็งแรงแก่สายพาน ความแข็งแรงของสายพานในแนวดึงหรือแนวยืดจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนชิ้นผ้าใบ

          ยางใน เป็นยางที่อยู่ระหว่างชั้นยางกาวของผ้าใบแต่ละชั้น ทำหน้าที่ยึดชั้นผ้าใบให้ติดกัน

          ยางผิวชั้นล่าง (bottom cover) ทำหน้าที่ป้องกันการสึกหรอของผ้าใบเนื่องจากการสัมผัสกับพลูเลย์ และก่อให้เกิดแรงเสียดทาน ทำให้สามารถขับเคลื่อนสายพานขนส่งวัสดุ ยางผิวชั้นบนและยางผิวชั้นล่างจะเป็นยางสูตรเดียวกันหรือต่างกันก็ได้

 

ตารางขนาดมาตรฐานของสายพานลำเลียง




ความรู้เรื่องสายพาน

เกรดของสายพานลำเลียงและตารางเปรียบเทียบ
วิธีสั่งสายพาน/วิธีดูหมายเลขที่ประทับมากับสายพาน
Degree of abrasieness for some materials
การเลือกขนาดพูเลย์
ความแตกต่างระหว่างสายพานมีขอบ และไม่มีขอบ
ผ้า ep
ตารางแสดงค่าควางเร็วแล่นสายพานสูงสุด
หลักการในการตรวจเช็คสายพาน
การต่อหัวสายพานลำเลียง
ปัญหาและวิธีการแก้ใขสายพานลำเลียง